ลักษณะของกล้วยแต่ละชนิด






กล้วยน้ำไท 

    บทางภาคกลาง  ลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำหนา ที่โคนมีชมพูอมแดง ด้านในสีชมพูอมแดง  ใบ ก้านใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง ครีบมีสีชมพู เส้นใบ สีชมพูอมแดง  ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้าวยาว ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง ด้านล่างสีซีดผล เครือหนึ่งมีประมาณ 5 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 18 ผล ผลมีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยหอมจันทน์ ผลไม่โค้งงอเท่า และเมื่อสุกสีเหลืองส้มกว่า มีจุดดำเล็ก ๆ คล้ายจุดของกล้วยไข่ กลิ่นหอม เนื้อสีส้มเหลือง รสหวาน  ผลใช้รับประทานสด



กล้วยตานี 

  พบทั่วไป ต้น ลำต้นสูง 3.5 - 4  เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ใ บ เส้นกลางใบสีเขียวดอก ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ปลีรูปร่างป้อม ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อกาบปลีกางขึ้นจะไม่ม้วนงอ กาบปลีแต่ละใบซ้อมกันลึกผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่มีเหลี่ยมชัดเจน ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน เมล็ดมีจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา แข็ง ใบใช้ทำงานฝีมือ ปลีใช้ปรุงอาหาร (เป็นปลีที่อร่อยกว่ากล้วยใด ๆ) เหง้าใช้ทำแกงคั่วได้ ผลอ่อนใช้ทำส้มตำ ผลแก่ใช้นำมาทำน้ำส้ม 




กล้วยเล็บมือนาง 

พบแถบภาคใต้ และภาคกลาง แถบกรุงเทพ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยเล็บมือนาง บางท้องถิ่นเรียกว่า กล้วยข้าว กล้วยเล็บมือ กล้วยทองดอกหมาก  ลำต้นมีความสูงไม่เกิน 2.5 เมตรกาบลำต้นด้านนอก สีชมพูอมแดง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 15-18 ผล  ผลเรียวเล็ก รูปโค้งงอ เปลือกหนา เมื่อสุกสีกล้วยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง รสชาติจะคล้ายกล้วยไข่ แต่เนื้อน้อยกว่า มีปลูกมากแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร  ์ ผลใช้รับประทานสด หรือแปรรูปเป็นกล้วยตาก กล้วยอบน้ำผึ้ง


กล้วยหักมุก

  พบได้ทั่วไป  ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5  เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร  กาบลำต้นด้านนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในมีสีเขียวอ่อนใบ  ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ และมีครีบ เส้นกลางใบสีเขียวมีนวลทางด้านล่างดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ด้านบนป่านมีนวลหนา ด้านล่างมีสีแดงเข้มผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลใหญ่ ก้านผลยาว ปลายผลลีบลง มีเหลี่ยมชัดเจน เปลือกหนา เมื่อสุกสีเหลืองอมน้ำตาล มีนวลหนา เนื้อสีส้ม  ผลใช้แปรรูป ผลสุกนำมาปิ้ง รับประทานได้รสชาติดี หรือนำไปเชื่อม



กล้วยหิน 

   พบมากทางภาคใต้  ต้น ลำต้นสูง 3 - 4  เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียวมีนวล ใบ ก้านใบค่อนข้างสั้น ร่องใบเปิด  ดอกปลีรูปร่างค่อนข้างป้อมสั้นรูปร่างคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง เมื่อกาบเปิดจะไม่ม้วนงอผล เครือหนึ่งมี 7 - 10 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 15 ผล  ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนา ผลเรียงกันแน่นเป็นระเบียบ ช่องว่างระหว่างหวีน้อย ปลายจุกป้าน เมื่อสุกสีเหลืองเนื้อสีขาวอมเหลือง ผลใช้รับประทานสด หรือนำไปต้ม ปิ้ง


กล้วยน้ำว้า

      พบได้ทุกภาคของไทยกล้วยน้ำว้ากล้วยชนิดนี้จะมีขึ้นทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะหลังบ้านของทุกคน ส่วนใหญ่ก็เคยปลูกกล้วยกันมาแล้วทั้งนั้น ด้วยความแพร่หลายของกล้วยพันธุ์นี้จึงมีชื่อเรียนต่างกันไปตามท้องถิ่น อย่างเช่นทางเหนือจะเรียกว่า กล้วยใต้ คนจันทบุรีเรียกว่า กล้วยมะลิอ่อง คนอุบลเรียก กล้วยตานีอ่องลำต้นของกล้วยน้ำว้าจะมีความสูงไม่เกิน 3.5 เมตร ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบก้านช่อดอกไม่มีขน เครือหนึ่งมี 8-10 หวี หวีหนึ่งมี 13-16 ผล ผลและเปลือกหนากว่ากล้วยไข่แต่ความยาวใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เนื้อกล้วยมีสีขาว แกนกลางเรียกว่าไส้กลาง มีสีเหลือง ขาวหรือชมพู ซึ่งทำให้กล้วยแบ่งเป็น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าขาวกล้วยน้ำว้ามีประโยชน์มาก ใช้เป็นอาหารของเด็กอ่อน เด็กทารกวัย 3 เดือนทุกคนต้องผ่านการกินกล้วยน้ำว้าครูดมาแล้วทั้งสิ้น นอกจากเป็นอาหารของทารกแล้ว ยังนิยมนำมาบริโภคสดและทำขนมอีกด้วย

กล้วยไข่

    พบได้ทุกภาคของประเทศ  กล้วยไข่กล้วยไข่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กล้วยกระ ลำต้นมีความสูงไม่เกิน 2.5 เมตร กาบกล้วยด้านในมีสีเขียวอมเหลือง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่เครือหนึ่งมีประมาณ 6-7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 12-14 ผล ลักษณะของผลค่อนข้างเล็กเวลาสุกจะมีสีเหลืองทอง กล้วยไข่ที่อร่อยและมีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ กล้วยไข่กำแพงเพชร นอกจากกินเล่นแล้ว กล้วยไข่ยังเป็นพันธุ์กล้วยที่นำมาประกอบพิธีเดือนสิบ หรือสารทไทยอีกด้วย ถ้าจะกินกล้วยไข่ให้อร่อยแล้วต้องกินควบคู่กับกระยาสารท


กล้วยหอมทอง

 พบทั่วไปกล้วยหอมทองกล้วยหอมจะมีอยู่กลายพันธุ์ ทั้งกล้วยหอมเขียว กล้วยหอมจันทน์ กล้วยหอมเขียวค่อมแต่ที่นิยมมากที่สุดคือกล้วยหอมทอง เพราะว่ามีกลิ่นหอม รสหวาน กล้วยหอมทองจะมีลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร เครือหนึ่งจะมี 5-6 หวี หวีหนึ่งจะมีประมาณ 10-15 ผล ปลายผลจะมีจุกยื่นออกมาให้เห็นได้ชัดเจน เปลือกบาง เมื่อผลกล้วยสุก จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แหล่งปลูกส่วนใหญ่จะอยู่แถบภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดแถบภาคกลางโดยเฉพาะจังหวัดแถบปทุมธานี และรอบ ๆ เขตปริมณฑล  





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น